การวางแนวปลูกปาล์ม



การวางแนว ปาล์มน้ำมัน หลังจากเตรียมพื้นที่ ตัดถนนและทางระบายน้ำแล้ว จึงวางแนวการปลูกโดยพิจารณาจากความสอดคล้องกับการทํางานการระบายน้ำความลาดเทของพื้นที่ทิศทางของแสงแดดเพื่อใหปาล์มน้ำมัน ไดรับแสงแดดมากที่สุด เพื่อให้ใบได้ มีกระบวนการสังเคราะหแสง ควรปลูกปาล์มน้ำมันแบบสามเหลี่ยม ด้านเท่า แถวหลักเป็นฐานอยูในแนวทิศเหนือ – ใต้

แถวที่ใกล้ กันจะปลูกกึ่งกลางเป็นระยะยอดของสามเหลี่ยมด้านเท่า และการจัดระยะการปลูก 9 x 9 เมตร ( ไม่ควรปลูกให้ถี่กว่านี้ ) เป็นที่นิยมมากที่สุดเนื่องจากทําให้ ต้นได้รับแสงมากที่สุด ไม่ควรปลูก ปาล์มน้ำมัน ให้ชิดมากกว่า 9 X 9 เมตร เพราะจะทำให้เกิดผลเสียในอนาคต เช่น ผลผลิตจะเริ่มต่ำมากเมื่อ อายุ ปาล์มน้ำมัน  มากกว่า 10 ปี  หรือ อาจจะมีผลเสียตั้งแต่ 6 – 8 ปี ขึ้นไป ทั้งนี้ อาจจะจัดระยะ เป็น 10 -12 เมตร ต่อช่วง

ควรปลูกในช่วงฤดูฝน เพราะความชื้นในดินจะเป็นปัจจัยสําคัญที่จะส่งผลต่อการอยู่รอดหรือการเจริญเติบโตของต้นกล้า ปาล์มน้ำมัน ที่ปลูก ระยะเวลาปลูกที่เหมาะสมคือ เดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงต้นฤดูฝน จะทําให ปาล์มน้ำมัน ตั้งตัวในแปลงได้ดี และยาวนาน ก่อนถึงฤดูแล้ง
ระยะปลูก ที่เหมาะสมคือ การปลูกแบบสามเหลี่ยมด้านเทา ระยะ 9 X 9 X 9 เมตร  หรือ 10 X 10 X หรือ 12 X 12 X 12 ในพื้นที่ 1 ไร มีต้น ปาล์มน้ำมัน จํานวนไม่เกิน 18 - 22 ตน สำหรับในพื้นที่ อีสานอาจเพิ่มพื้นที่ระยะปลูกเป็น 12 X 12 X 12 เพื่อเพิ่มพื้นที่สำรองน้ำไว้

การวางแนวปลูก ที่สําคัญคือ การปลูกต้น ปาล์มน้ำมัน ให้ทุกต้นได้รับแสงแดดมากที่สุด และสม่ำเสมอ เพื่อการสังเคราะห์แสงโดยกําหนดให้ แถวปลูกหลักอยู่ในแนวทิศเหนือ - ใต้ ระบบการปลูก ปาล์มน้ำมัน ที่นิยมคือ ปลูกแบบสามเหลี่ยมด้านเท่า
Read more >>

ปลูกปาล์มน้ำมัน 1 ไร่ได้ผลตอบแทนมากกว่า 3 ไร่


Read more >>

สินธุเศรษฐ์ นำร่องปลูกปาล์มน้ำมันในภาคกลาง


โดย http://www.sintusatepalmoil.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539188275&Ntype=7

สินธุเศรษฐ์ นำร่อง
ปลูกปาล์มสายพันธุ์ดีในที่ลุ่มภาคกลาง
คลุมพื้นที่กว่า 1,000 ไร่ มั่นใจศักยภาพการผลิตรุ่ง

“รวมพลังขับเคลื่อน ยกระดับมาตรฐานปาล์มน้ำมัน ด้วยการปลูกปาล์มสายพันธุ์แท้ สายพันธุ์ดี
เพื่อก้าวให้ทันยุคแห่งการแข่งขัน เพื่อผลประโยชน์ และความคุ้มค่าสูงสุดในอาชีพ
มุ่งเน้นคัดสายพันธุ์ที่ดีที่สุดของโลก สู่มือเกษตรกร...”


สวนปาล์มน้ำมันแปลงใหม่ภายใต้การดำเนินงานของบริษัทสินธุเศรษฐ์ตั้งอยู่เนื้อที่ 4 อำเภอ 3 จังหวัด แล้วแบ่งออกเป็น 4 สวนดังนี้

แปลงที่ 1 อยู่ที่ อ.หนองแค จ.สระบุรี รวมพื้นที่ทั้งหมด 210 ไร่ เดิมที่เป็นสวนส้มเก่า นำปาล์ม

สายพันธุ์ Deli x Compact (เดลิ x คอมแพค) 

ปลูกในร่องเดิมที่เคยเป็นสวนส้มปลูกระบบร่องเดียว คือ 1 ร่องปลูก 1 ร่องน้ำ รถไม่สามารถเขาได้ ปลูกในระยะ 8 x 8 x 8 เมตร ปัจจุบันอายุได้  2 เดือน

แปลงที่ 2 อยู่ที่ อ.วิหารแดง จ.สระบุรี รวมพื้นที่ทั้งหมด 235 ไร่ เดิมที่เป็นสวนส้มเก่า นำปาล์ม

สายพันธุ์ Compact x Nigeria Black (คอมแพค x ไนจีเรีย แบล็ค ) 

ปลูกในร่องเดิมที่เคยเป็นสวนส้มแต่ได้มีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ให้เป็นระบบ 1 ร่อง 3 แถว คือปลูกปาล์ม 3 แถว แล้วขุดร่องน้ำไว้ 1 ร่อง รถสามารถเข้าไปในร่องได้ ปลูกในระยะ 8 x 8 เมตร ขณะนี้ดำเนินการปลูกอยู่

แปลงที่ 3 อยู่ที่ อ.องครักษ์ จ.นครนายก รวมพื้นที่ทั้งหมด 360 ไร่ เดิมที่เป็นสวนส้มเก่า และเคยเป็นที่บ้านจัดสรร สำหรับแปลงที่นี้เป็นแปลงที่มีการเสียต้นทุนด้านการปรับพื้นที่ค่อนข้างสูงเฉลี่ย 10,000 บาท/ไร่ ไม่เพียงเท่านั้นค่า ph อยู่ที่ 2.4 ซึ่งถือว่าเป็นดินเปี้ยวที่สุดเลยก็ว่าได้ นำปาล์ม

สายพันธุ์ Deli x Compact (เดลิ x คอมแพค) 

ปลูก โดยยกร่องปลูกแบบ เป็น 1 ร่อง 3 แถว ปลูกในระยะ 8.5 x 8.5 เมตร และออกแบบให้ระบบน้ำเป็นระบบน้ำวนเพื่อให้น้ำลดความกร่อยของน้ำ ปัจจุบันอายุได้ 3 เดือน

แปลงที่ 4 อยู่ที่ อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี รวมพื้นที่ทั้งหมด 195 ไร่ เดิมที่เป็นสวนส้มเก่า นำปาล์ม

สายพันธุ์ Deli x Compact (เดลิ x คอมแพค) และ Compact x Nigeria Black (คอมแพค x ไนจีเรีย แบล็ค ) 

ยกร่องปลูกแบบ เป็น 1 ร่อง 3 แถว ปลูกในระยะ 8.5 x 8.5 เมตร ปัจจุบันอายุได้ 2 เดือน


Read more >>

เยี่ยมชมสวนปาล์มน้ำมัน




ว่าที่ ร.ต.ชัยศรี  ไชยมณี   หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ   สำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร   นำนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร  เยี่ยมชมลาน
รับซื้อปาล์มและสวนปาล์มน้ำมันซึ่งมีอายุ 3  ปี  4  เดือน  พื้นที่  40 ไร่  ของนายชัยชนะ   เอี่ยมสำอางค์  เกษตรกร หมู่ที่ 6  ตำบลระหาน  อำเภอบึงสามัคคี  จังหวัดกำแพงเพชร

Read more >>

จากหนึ่งทลายสู่ลานปาล์ม


โดย http://www.gotoknow.org/posts/509557

เขียวมรกต

๒๑ พย.๕๕

จุดรับซื้อผลผลิตปาล์มน้ำมัน แห่งแรกของจังหวัดกำแพงเพชร

วันนี้ (๒๑ พย. ๕๕ )ผมและอ.สิงห์ป่าสัก ตั้งใจจะไปเยี่ยมลานปาล์มน้ำมันของคุณชัยชนะ ชื่นสำอางค์ ตั้งอยู่ ที่บ้านทุ่งสนุ่น ตำบลระหาน อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร โดยได้รับทราบจากคุณชัยชนะ ว่าทุกวันที่๖-๗และ๒0- ๒๑ ของเดือน จะมีการนัดหมายให้เกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมัน ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร ได้นำผลผลิตทลายปาล์มน้ำมัน มาจำหน่าย ณ.จุดรับซื้อ/ลานปาล์มชัยชนะ ซึ่งเป็นจุดรับซื้อผลผลิตปาล์มน้ำมัน แห่งแรกของจังหวัดกำแพงเพชรครับ  
               
เมื่อผมและอ.สิงห์ป่าสัก ไปถึงยังจุดรับซื้อหรือที่เรียกว่า ลานปาล์มชัยชนะ แห่งนี้ ก็พบมีเกษตรกรที่เป็นสมาชิก ผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน ได้ทยอยบรรทุกผลปาล์มที่เป็นทลาย มายังจุดรับซื้อแห่งนี้หลายราย หากประมาณดูแล้ว ก็จะมีผลผลิตกองอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียวครับ( ประมาณ๕0-๖0 ตัน)

คุณชัยชนะ ชื่นสำอางค์ ได้เล่าให้ฟังว่า ปกติผลผลิตปาล์มที่มีเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในเขตจังหวัดกำแพงเพชร ทั้งในเขตชลประทานและเขตน้ำฝน ได้นำผลผลิตปาล์มมาจำหน่ายยังจุดรับซื้อแห่งนี้ หรือจุดรวบรวมผลผลิตปาล์ม เพื่อนำส่งโรงงานในเขตจังหวัดชลบุรี จากนั้นก็บรรทุกโดยรถบรรทุกสิบล้อพ่วง เดือนละ๒ ครั้ง ผลผลิตที่ได้แต่ละครั้ง เคยได้ถึง ประมาณ ร้อยถึงสองร้อยตันน่าจะได้  สำหรับราคาที่รับซื้อตอนนี้(วันที่ ๒O-๒๑ พย.๕๕)อยู่ที่ กิโลกรัมละ ๓.๔O บาท แต่ก็ขึ้นลงตามราคาตลาดที่โรงงานประกาศเช่นกัน

จากประสบการณ์ของตนเอง(คุณชัยชนะ)พบว่า หากเกษตรกรที่ปลูกปาล์มในเขตชลประทานโดยให้น้ำในระบบร่อง(ร่องส้มเดิม) ผลผลิตจะออกทุกเดือน  หากเกษตรกรที่ปลูกในสภาพพื้นที่ดอน(ไร่)เขตอาศัยน้ำฝน ก็จะเว้นการเก็บผลผลิตประมาณ ๔-๖ เดือนในรอบ๑ ปี ปัจจุบันจะมีเกษตรกรที่มีผลผลิตปาล์มออกสู่ตลาดโดยนำมาส่งที่จุดรับซื้อแห่งนี้ จำนวน ๒o รายเศษ และคาดว่าอีก ๒-๓ ปีข้างหน้าจะมีเกษตรกรที่จะนำผลผลิตปาล์ม มายังจุดรับซื้อแห่งนี้เพิ่มขึ้นจากเดิมหลายรายเช่นกันทุกวันนี้มีเกษตรกรที่สนใจในการปลูกปาล์มน้ำมัน มาขอรับความรู้จากตนเองทุกวัน วันหนึ่งๆก็มากันหลายรายเช่นกัน นอกจากนี้ก็มาขอศึกษาดูแปลงปลูกปาล์มในระบบร่อง(แปลงปลูกส้มเดิม)ของตนเอง ตนเองก็ได้แนะนำและถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกรเหล่านั้นอย่างตรงไปตรงมา โดยแนะนำให้ปลูกในพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำดีเพียงพอ

คุณชัยชนะ ยังได้เล่าให้ฟังต่อไปอีกว่า จากประสบการณ์ของตนเองเชื่อว่าต้นปาล์ม เป็นพืชที่ตอบสนองต่อปุ๋ยและน้ำได้ดี หากเราให้น้ำสม่ำเสมอ พร้อมกับใส่ปุ๋ยให้ถูกต้อง พร้อมกับเพิ่มธาตุอาหารที่เป็นอาหารเสริมเช่นน้ำหมักชีวภาพที่เราทำการหมักเองจากปลา ต้นปาล์มจะติดผลดกและเจริญเติบโตเร็ว  
                
ปัจจัยที่สำคัญที่สุดอีกปัจจัยหนึ่ง  จากข้อค้นพบของตนเอง(คุณชัยชนะ)พบว่า การคัดเลือกพันธุ์ปาล์มพันธุ์ดีปลูก ก็จะติดผลดกน้ำหนักดี ในแปลงของตนเอง จำนวน ๔oไร่นี้ เมื่อปลูกปาล์มไปแล้ว เมื่อต้นปาล์มมีอายุ ๑ ปีกับอีก ๙ เดือน จะเริ่มออกผลแล้วและผลเต่งมาก จนตนเองตัดที้งไม่ไหว ก็เลยปล่อยเลยตามเลย ผลปรากฏว่า สามารถเก็บผลผลิตไปจำหน่ายได้หมด หากจะพูดถึงการลงทุนในแปลงนี้( ๔oไร่)ที่มีอายุ ๓ ปี๔ เดือน ตนเองก็ได้ทุนที่ลงไปคืนหมดแล้วครับ  ปัจจุบันยัง ได้ซื้อที่ดินเพื่อจะขยายปลูกปาล์มเพิ่มอีกประมาณ ๒o ไร่ 

  สำหรับวันนี้ทีมงานของเราก็ได้เก็บข้อมูลเพิ่มเติมจากคุณชัยชนะ ชื่นสำอางค์ พร้อมกับได้สนทนากับเกษตรกรที่นำผลิตปาล์มมาส่งยังจุดรับซื้อแห่งนี้ ต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า การที่เกษตรกรจะตัดสินใจปลูกปาล์มน้ำมัน ให้ได้ผลดี ต้องอยู่ที่มีแหล่งน้ำดีเพียงพอ การคัดเลือกสายพันธุ์ปลูกต้องเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ดินของตนเอง และที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือการบริหารจัดการแปลงปลูกปาล์มให้ถูกต้องรวมถึงการดูแลรักษา(การใส่ปุ๋ยและการกำจัดวัชพืช) รวมทั้งต้องรู้จักการป้องกันกำจัดหนู ที่จะมากัดกินผลปาล์มเช่นกันครับ
Read more >>

ปลูกปาล์มน้ำมันทดแทนไร่ส้มเขียวหวาน




โดย http://www.gotoknow.org/posts/509171

ครั้งหนึ่งราวปี พ.ศ.๒๕๔๕-๒๕๕๑ จังหวัดกำแพงเพชรได้มีเกษตรกรชาวสวนส้มรังสิต จังหวัดปทุมธานี ได้อพยพแหล่งปลูกส้มไปปลูกที่เขตจังหวัดกำแพงเพชร ส่วนใหญ่จะทำการปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำนามาเป็นสวนส้ม ซึ่งมีพื้นที่ปลูกส้มในขณะนั้นจำนวนหลายหมื่นไร่ แต่ปัจจุบันจะเหลือพื้นที่ปลูกส้มอยู่ไม่กี่ร้อยไร่ ส่วนใหญ่จะเลิกการทำสวนส้มไปในที่สุด เพราะว่าส้มเกิดเป็นโรค เกษตรกรขาดทุน เป็นหนี้เป็นสินมากมาย มีเกษตรกรปรับพื้นที่จากร่องส้มเป็นพื้นที่ทำนาเหมือนเดิม แต่ก็จะมีเกษตรกรหัวไวใจสู้ส่วนหนึ่ง ได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่จากไร่ส้ม โดยทำการปรับปรุงพื้นที่ที่ปลูกส้มเดิมเปลี่ยนมาปลูกปาล์มน้ำมันแทน จะเป็นการตัดสินใจปลูกตามกระแสหรือไม่ น่าสนในที่จะต้องศึกษาข้อเท็จจริงว่ากำแพงเพชรจะเหมาะที่จะปลูกปาล์มน้ำมันหรือไม่ต้องติดตาม

จากการที่ทีมงานได้ลงไปศึกษาและเยี่ยมเยียนเกษตรกรที่ชื่อคุณชัยชนะ ชื่นสำอางค์ อยู่บ้านเลขที่ ๙๕ หมู่ที่๖ (บ้านทุ่งสนุ่น) ตำบลระหาร อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร(เมื่อวันที่๑๔ พย๕๕)โดยได้เล่าให้ทีมงานได้ฟังว่า ตนเองได้ทำการทดลองปลูกปาล์มน้ำมัน จำนวน ๔0ไร่ โดยทำการปรับปรุงจากร่องส้มเดิมมาปลูกปาล์มน้ำมัน ซึ่งใช้ระยะปลูกคือระยะห่างระหว่างแถว กว้าง ๙ เมตรและระยะห่างระหว่างต้น ๙ เมตร ปลูกแบบสลับฟันปลา โดยทำการปลูกบนสันร่องกว้างประมาณ ๑๕ เมตร ร่องน้ำกว้างประมาณ ๑ เมตรเศษ ทำการปล่อยน้ำจากคลองชลประทานวังบัวเข้าร่องที่ปลูกปาล์มน้ำมัน โดยเลี้ยงน้ำไว้ในร่องตลอดเวลา ขณะนี้ต้นปาล์มน้ำมัน อายุ ๓ ปี ๔ เดือน ซึ่งปัจจุบันทยอยเก็บเกี่ยวผลปาล์มน้ำมัน ไปหลายครั้งแล้วพันธุ์ที่ใช้ปลูก ได้แก่ พันธุ์เดลิ-คอมแพค และพันธุ์เดลิ-ไนจีเรีย

คุณชัยชนะ ชื่นสำอางค์ ยังได้เล่าให้ฟังต่อไปอีกว่า จากการสังเกตทลายปาล์มเมื่อนำไปชั่งดู จะหนักประมาณ ๒0กิโลกรัมเศษ ต่อหนึ่งทลาย หากจะประมาณผลผลิตน้ำหนักของผลปาล์ม จะได้ประมาณ ไร่ละเกือบถึง๓ ตันต่อครั้ง เป็นที่น่าพอใจ เมื่อไม่นานมานี้มีผู้แทนบริษัทเอกชนจากประเทศออสตาริกา มาดูแปลงปลูกปาล์มน้ำมันของตนเอง ซึ่งเขาได้บอกว่า พอใจในการเจริญเติบโตของต้นปาล์มของคุณชัยชนะ และมีการจัดการแปลงปลูกปาล์มคล้ายกับสวนปาล์มของเกษตรกรในประเทศมาเลเซีย

จากนั้นคุณชัยชนะ ก็ได้นำทีมงาน ลงไปเยี่ยมแปลงปลูกปาล์มน้ำมัน พร้อมกับได้เล่าถึงวิธีการปลูก ปาล์มน้ำมันเริ่มตั้งแต่การปรับเตรียมพื้นที่ปลูก การคัดเลือกต้นพันธุ์ปาล์มมาปลูก วิธีการปลูก การดูแลรักษา ทั้งการให้ปุ๋ย การให้ฮอร์โมนจากปลา ตลอดจนการให้น้ำโดยวิธีการใช้เรือรดน้ำ ซึ่งเคยใช้กับสวนส้มมาแล้วครั้งหนึ่ง
สำหรับการเก็บเกี่ยวตนเองได้ตั้งจุดรวมเพื่อรับซื้อผลผลิตปาล์มน้ำมันจากเกษตรกรในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียงกำหนดรับซื้อทุกวันที่ ๒0-๒๑ ของทุกเดือน ในหนึ่งเที่ยวรถบรรทุกก็จะบรรทุกได้ประมาณ ครั้งละ ๓0 ตัน เพื่อนำส่งต่อไปยังโรงงานน้ำมันปาล์มที่จังหวัดชลบุรี

ขณะที่ทีมงาน ได้พูดคุยกับคุณชัยชนะ ชืนสำอางค์ พร้อมได้ลงไปดูแปลงปลูกปาล์ม ก็ทึ่งเหมือนกันว่า ต้นปาล์มมีการเจริญเติบโตดีกว่าในเขตพื้นที่นอกเขตชลประทาน และได้พบข้อสังเกตว่า พันธุ์ปาล์มก็มีส่วนสำคัญอยู่มากที่เกษตรกรที่จะตัดสินใจปลูกปาล์มจะต้องรู้ลักษณะประจำพันธุ์ว่าแต่ละสายพันธุ์เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ปลูกลักษณะของเนื้อดินเป็นดินชุดอะไรและ ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือแหล่งน้ำนั่นเองต้องสมบูรณ์เพียงพอ นั่นเอง ทั้งก็จะต้องเข้าใจของการบริหารจัดการแปลงอย่างถูกต้องควบคู่กันไปด้วยครับ

เขียวมรกต ๑๘ พย.๕๕
Read more >>

เทคนิคการเพาะพันธุ์เมล็ดปาล์ม

วัสดุอุปกรณ์ในการเพาะ

1. ดินร่วน จำนวน 1 ส่วน

2. แกลบเผา จำนวน 3 ส่วน

3. ทรายหยาบน้ำจืด จำนวน 1 ส่วน

4. ขุยมะพร้าวละเอียด จำนวน 1 ส่วน

5. น้ำสะอาด/บัวรดน้ำ/พลั่วผสมและพลั่วตักดิน/จอบ

6. กระบะเพาะขนาด 40 x 90 ซ.ม. สูง 10 ซ.ม./หรือถุงดำขนาด 2 x 6 นิ้ว ตามต้องการ

7. เมล็ดพันธุ์ปาล์มชนิดต่างๆ (เช่น ปาล์มหมากเหลือง,ปาล์มเยอรมัน,ปาล์มขวด) จำนวน 200-300 เมล็ด

วิธีการ

1. เตรียมดินร่วน แกลบเผา ทรายหยาบน้ำจืด และขุยมะพร้าวตามจำนวนที่ต้องการ เก็บเศษหิน กิ่งไม้ ที่

ปลอมปนมากับวัสดุเพาะชำออกให้หมด

2. ผสมดินร่วน แกลบเผา ทรายหยาบน้ำจืด และขุยมะพร้าวให้เข้ากันทั่วทั้งกอง โดยใช้จอบหรือพลั่วตัก

ผสมข้างบนลงล่างและนำวัสดุข้างล่างขึ้นข้างบน เมื่อสังเกตเห็นว่าเข้ากันดีแล้วให้ใช้บัวรดน้ำตักน้ำแล้ว

รดให้ทั่วกอง ใช้จอบผสมกองอีกครั้งหนึ่งให้เข้ากันทั่วทั้งกองใช้ความชื้นประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ไม่ชื้น

มากจนแฉะเพราะจะทำงานลำบาก

3. เตรียมกระบะที่จัดทำไว้ตามขนาดที่ต้องการ นำไปวางไว้ที่แสงแดดส่องรำไร ไม่ควรอยู่ที่แสงแดดจ้า

ตลอดวันเพราะมีผลต่อการงอกของเมล็ดพันธุ์ปาล์ม ปรับพื้นที่ให้เรียบแล้ววางกระบะ

4. นำขุยมะพร้าวสับหยาบรองพื้นที่กระบะเตรียมไว้เพื่อช่วยดูดซับและระบายความชื้นจากวัสดุปักชำ

5. นำวัสดุที่ผสมเสร็จเรียบร้อยแล้วลงเกลี่ยในกระบะเพาะชำให้วัสดุปักชำต่ำกว่าขอบกระบะเล็กน้อย

6. นำเมล็ดพันธุ์ปาล์มสุกที่เตรียมไว้โรยให้กระจายทั่วกระบะเพาะชำ ใช้มือกดเมล็ดปาล์มลงเล็กน้อย และ นำวัสดุปักชำที่เหลือไว้ส่วนหนึ่งโรยกลบหน้าเมล็ดปาล์ม ไม่ควรให้เมล็ดพันธุ์ปาล์มอยู่ในดินลึกเกินไป

7. รดน้ำด้วยบัวรดน้ำทุกวัน เช้าเย็น หรือเมื่อความชื้นในกระบะเพาะลดลง ใช้เวลาประมาณ 15 - 30 วัน
เมล็ดปาล์มจะเริ่มงอก ทั้งนี้การจะงอกเร็วหรือช้าอยู่ที่พันธุ์และชนิดของปาล์มนั้นๆ

"เมล็ดพันธุ์ปาล์มที่เก็บไว้นานเกินไปเมื่อนำมาเพาะเปอร์เซ็นต์ความงอกอาจจะลดลงได้"
Read more >>

โครงการปลูกปาล์มน้ำมันและรับซื้อผลผลิตคืน บริษัทเพชรสยามการเกษตร จำกัด

79 ม.4 ต.บวกค้าง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่

ปาล์มเป็นพืชที่ปลูกง่าย โตเร็ว ดูแลจัดการให้ดีจะให้ผลผลิตมาก การปลูกเหมือนการปลูกพืชยืนต้นทั่วไป เหมือนมะพร้าวหรือหมากพลู ปลูกได้ทุกพื้นที่ ไม่ต้องการน้ำมาก ทนแล้ง ไม่มีโรคมากเท่าไหร่ ต้นปาล์มอายุ 3 ปี เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ผลผลิตจะออกทุก 15 วัน 1 เดือนเก็บผลผลิต 2 ครั้ง อายุการเก็บเกี่ยวยาวนานกว่า 25 ถึง 30 ปี

การปลูกปาล์มน้ำมัน
(1) 1 ไร่ใช้ต้นกล้า ปลูก 22 ต้น โดยต้นกล้าเป็นพันธุ์เทเนอร่า และมีใบรับรองจากกรมวิชาการเกษตร
(2) ระยะห่างการปลูก 9X9X9 เมตร
(3) 3 ปีเก็บได้เฉลี่ยขั้นต่ำต้นละ 15 กก. ต่อครั้ง
(4) 1 เดือนเก็บได้ 2 ครั้ง เฉลี่ยประมาณ 30 กก. ต่อต้น
(5) บริษัท ประกันราคาซื้อตามท้องตลาดที่รัฐบาลประกาศ

รายได้จากการปลูกปาล์ม
1. รายได้จากการปลูกปาล์ม 1 ไร่
30 x 5 บาท = 150 บาทต่อต้น
150 x 22 ต้น = 3,300 บาทต่อไร่ต่อเดือน
3,300 x 12 เดือน = 39,600 บาทต่อปีต่อไร่

2. ปลูกปาล์ม 2 ไร่ มีรายได้ 6,600 บาทต่อเดือน
3. ปลูกปาล์ม 3 ไร่ มีรายได้ 9,900 บาทต่อเดือน
4. ปลูกปาล์ม 4 ไร่ มีรายได้ 13,200 บาทต่อเดือน
5. ปลูกปาล์ม 5 ไร่ มีรายได้ 16,500 บาทต่อเดือน
6. ปลูกปาล์ม 10 ไร่ มีรายได้ 33,000 บาทต่อเดือน
7. ปลูกปาล์ม 20 ไร่ มีรายได้ 66,000 บาทต่อเดือน
8. ปลูกปาล์ม 50 ไร่ มีรายได้165,000 บาทต่อเดือน

ตกลงคุณจะทำกี่ไร่..........
3 ปี รวยแน่นอน

สนใจติดต่อ : เอกชัย 082-0302417,0806770427 (เจ้าหน้าที่ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร)
Read more >>

ปาล์มน้ำมัน ซี.พี. เทเนร่า อายุ 8 เดือนขึ้นไป ราคา ต้นละ 130 บาท ไม่รวมค่าขนส่ง จองต้นละ 20 บาท

คุณลักษณะปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนร่า (DxP) สายพันธุ์ ซี.พี. เทเนร่า (C.P. Tenera)


 ปรับตัวได้ดีกับสภาพแวดล้อมที่มีฤดูแล้งนาน 90 วัน และให้ผลผลิตสม่ำเสมอตลอดปี
 ให้ผลผลิตทะลายปาล์มสดสูงกว่า 4 ตัน/ไร่/ปี ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
 ลักษณะลำต้นสูงปานกลาง ความสูงเฉลี่ยไม่เกิน 40 -50 ซม./ปี
 มีเปอร์เซ็นต์น้ำมันต่อทะลาย  สูงถึง 25 %
 ผลผลิตจำนวนทะลายปาล์มสดมากกว่า 18 ทะลาย/ต้น/ปี และมีจำนวนหนามบนทะลายปาล์มน้อยหรือไม่มีเลย
 ปรับตัวได้ดีกับสภาพแวดล้อมที่มีฤดูแล้งนาน 90 วัน และให้ผลผลิตสม่ำเสมอตลอดปี
 ทนทานต่อโรค Fusarium wilt และยังไม่ปรากฏอาการเป็นโรค Garnoderma ในปาล์มลูกผสมเทเนร่าเนื้อเยื่ออายุ 16 ปี ในประเทศไทย
 ได้รับการรับรองสายพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร

สั่งซื้อและจองได้ที่
• ศูนย์ส่งเสริมเชียงรายคุณทับทอง089-191-3374
• ศูนย์ส่งเสริมกำแพงเพชรคุณโชคดี081-666-3258
• ศูนย์ส่งเสริมเลยคุณอนวัช081-857-0811
• ศูนย์ส่งเสริมบุรีรัมย์คุณสมศักดิ์081-717-5546
• ศูนย์ส่งเสริมสระแก้วคุณพรหมพิริยะ081-946-9373
• ศูนย์ส่งเสริมตราดคุณฤทธิรงค์087-484-6360
• ศูนย์ส่งเสริมชุมพรคุณชลาพันธ์081-857-1209
• ศูนย์ส่งเสริมนครศรีฯคุณสายสัมพันธ์080-145-2367

Read more >>

โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มหนองคาย

โดยซีพี เมื่อ 1 มี.ค.2554

โรงสกัดน้ำมันปาล์มแบบไม่ใช้ไปน้ำชุมชน CP-P 1,000 กำลังการผลิตที่ 4.5 ตันทลาย ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ อ.รัตนวาปี จ.หนองคาย สามารถรองรับการผลิตปาล์มในพื้นที่ 1,500 -3,000 ไร่ ปัจจุบันเริ่มทำการรับซื้อปาล์มในพื้นที่และเป็นที่ตอบรับของเกษตรกรชาวสวนปาล์มชุมชนในพื้นที่ จ.หนองคายและ จังหวัดใกล้เคียง

สืบเนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นเหตุประเทศต่างๆหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาพลังงานทางเลือกอย่างจริงจัง เพื่อลดการพึ่งพาน้ำมันเชื้อเพลิง และพลังงานจากถ่านหินที่นับวันจะหมดไป








ในส่วนของประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรอันดับต้นๆของโลก ในแต่ละปีมีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรจำนวนมากที่ถูกทิ้งไว้โดยเปล่าประโยชน์ รัฐบาลจึงมีแนวคิดที่พัฒนาพลังงานทดแทนจากพืช และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเหล่านั้น เพราะนอกจากจะเป็นการสร้างทางเลือกด้านพลังงานให้กับประเทศแล้ว การพัฒนาพืชพลังงานยังช่วยเพิ่มมูลค่าและลดปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำอย่างยั่งยืนด้วย
ทั้งนี้ ปาล์มน้ำมันถือเป็นพืชพลังงานที่มีศักยภาพชนิดหนึ่งของประเทศไทย ทั้งในด้านของผลตอบแทนต่อพื้นที่การผลิตและโอกาสในการพัฒนาต่อยอดสู่อุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ ดังนั้นเมื่อปี 2547 รัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะส่งเสริมการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มใหม่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 60,000 ไร่ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการปลูกปาล์มน้ำมันทดแทนพืชเดิมที่ให้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่าการลงทุน รวมทั้งรองรับการเติบโตของสภาพเศรษฐกิจและความต้องการใช้พลังงานในประเทศที่สูงขึ้นด้วย โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ส่งเสริมจะอยู่บริเวณพื้นที่ลุ่มติดแม่โขงในเขตจังหวัดหนองคายประมาณ 40,000 ไร่ ซึ่งผลการดำเนินงานพบว่า สวนปาล์มในหลายพื้นที่ของจังหวัดหนองคายที่อยู่ติดแม่น้ำโขงและมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยกับภาคใต้มีอัตราการเจริญเติบโต และให้ผลผลิตใกล้เคียงกับสวนปาล์มในภาคใต้


อย่างไรก็ตาม ถึงแม้สวนปาล์มในจังหวัดหนองคายและหลายพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะเริ่มทยอยให้ผลผลิต อีกทั้งมีความเป็นไปได้ในการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มในหลายจังหวัดที่มีสภาพอากาศและปริมาณน้ำฝนที่เหมาะสม แต่เนื่องจากสวนปาล์มส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีขนาดเล็กและอยู่กระจายกระจัด ทำให้ผู้ประกอบการไม่สนใจเข้ามาตั้งโรงสกัดน้ำมันปาล์มในพื้นที่ ที่ผ่านมาชาวสวนปาล์มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงต้องเสียค่าขนส่งทลายปาล์มไปจำหน่ายไกลถึงภาคตะวันออกและภาคใต้ อีกทั้งการขนส่งในระยะทางไกลทำให้เปอร์เซ็นต์ของกรด FFA สูงขึ้น เป็นเหตุให้ถูกกดราคารับซื้อจากพ่อค้าคนกลางอีกด้วย


ดังนั้นเมื่อนายพิสิษฐ์ ฮามไสย์ หุ้นส่วนบริษัทรัตนอุตสาหกรรมปาล์ม จำกัด ได้ไปดูต้นแบบโรงสกัดน้ำมันปาล์มแบบไม่ใช้ไอน้ำ CP-P 1500 ที่ อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นงานวิจัยร่วมระหว่าง MTEC และบริษัทเกรท อะโกร จำกัด กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ จึงสนใจที่จะซื้อเครื่องสกัดน้ำมันปาล์มดังกล่าวมาดำเนินการติดตั้งในโรงงานที่อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย ด้วยเชื่อว่านวัตกรรมดังกล่าวสามารถตอบโจทย์ของผู้ประกอบในพื้นที่ปลูกปาล์มใหม่ซึ่งมีพื้นที่ปลูกปาล์มรอบโรงงานเฉลี่ย 1,500-3,000 ไร่ได้ อีกทั้งยังช่วยให้เกษตรกรในพื้นที่มีรายได้จากการขายปาล์มที่สูงขึ้นนอกจากนี้เกษตรกรยังสามารถคัดเลือกปาล์มที่สุกแก่เต็มที่มาขายที่โรงงานสกัดปาล์มได้ทุกวันด้วยระยะทางการขนส่งที่ไม่ไกลจากแหล่งปลูกปาล์มมากนัก นับเป็นการปฏิรูปในการสร้างรูปแบบใหม่ของการซื้อ-ขายปาล์มในพื้นที่ปลูกใหม่สร้างความมั่นใจและพึงพอใจแก่เกษตรกรในพื้นที่เป็นอย่างมาก





“ที่ผ่านมาชาวสวนปาล์มในภาคอีสานต้องเผชิญกับการกดราคารับซื้อจากพ่อค้าคนกลางที่เข้ามารับซื้อผลผลิตทุก 15 วัน โดยบางช่วงราคารับซื้อต่ำกว่าราคากลางถึง กก.ละ 1-2 บาท แต่เกษตรกรก็จำเป็นต้องขายโดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล เพราะไม่มีทางเลือก อีกทั้งยังการกำหนดรอบรับซื้อผลผลิตทุก 15 วันยังเป็นที่มาของปัญหาการตัดผลปาล์มดิบ หรือผลปาล์มไม่ได้คุณภาพที่เกิดขึ้น เพราะเกษตรกรไม่อยากเสียโอกาสจึงเลือกที่จะตัดผลปาล์มทันทีเมื่อถึงรอบการรับซื้อแม้ปาล์มจะยังดิบก็ตาม ในส่วนตัวคิดว่าการตั้งโรงสกัดน้ำมันปาล์มในพื้นที่จะช่วยลดปัญหาการตัดผลปาล์มดิบได้ เนื่องจากเกษตรกรสามารถเก็บผลผลิตมาส่งขายโรงงานได้ทุกวัน โดยบริษัทฯยังเพิ่มเกณฑ์การให้ราคารับซื้อตามคุณภาพของผลิตแทนการรับซื้อจากน้ำหนักรวมเหมือนที่ผ่านมาด้วย ซึ่งจากผลการดำเนินการที่ผ่านมา พบว่าได้รับความร่วมมือและพอใจจากเกษตรกร” นางพะยอมกล่าว




นายสมพงษ์ บังทอง ชาวสวนปาล์มตำบลนาดง อำเภอปากคาด จังหวัดหนองคาย ซึ่งเป็นเกษตรกรกลุ่มแรกๆของจังหวัดที่สนใจปลูกปาล์มน้ำมัน กล่าวว่า เริ่มทำการปลูกปาล์มน้ำมันปี 2548 และค่อยๆขยายพื้นที่ปลูกจนกระทั่งปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกปาล์มทั้งหมด 80 ไร่





“สนใจที่จะปลูกปาล์มน้ำมันเพราะได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ของศูนย์วิจัยฯหนองคาย ซึ่งจากการศึกษาเพิ่มเติมเห็นว่า ปาล์มน้ำมันน่าจะเป็นพืชที่มีอนาคตอีกทั้งยังเป็นพืชที่ดูแลรักษาไม่ยาก ปลูกเพียง 3 ปีก็สามารถให้ผลตอบแทนได้แล้วจึงได้ตัดสินใจปลูก ปัจจุบันต้นปาล์มที่ปลูกไว้เริ่มทยอยให้ผลผลิตแล้ว โดยเมื่อปี 2553 ที่ผ่านมาให้ผลผลิตเฉลี่ย 3-4 ตันต่อสัปดาห์ ส่วนหน้าฝนปีนี้คาดว่าผลผลิตจะเพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ละ 7-8 ตันต่อสัปดาห์” นายสมพงษ์


สำหรับช่องทางการขายนั้น นายสมพงษ์กล่าวว่า เดิมทีจะมีพ่อค้าคนกลางจากภาคตะวันออก หรือภาคใต้ขึ้นมารับซื้อทุก 15 วัน ซึ่งราคาเฉลี่ยประมาณ กก. 3-3.50 บาท แต่กรณีของเกษตรกรที่อยู่ไกลอาจจะราคาเพียง กก.ละ 1.50-2.00 บาทเท่านั้น จนกระทั่งบริษัทรัตนอุตสาหกรรมปาล์ม จำกัด ได้ตั้งโรงสกัดน้ำมันปาล์มขึ้นที่อำเภอรัตนวาปี นอกจากจะทำให้เกษตรกรในพื้นที่ขายผลปาล์มได้ราคาสูงถึง กก.ละ 6-6.80 บาทแล้ว การมีโรงงานในพื้นที่ทำให้เกษตรกรสามารถเก็บผลปาล์มสุกขายได้ทุกวันโดยไม่ต้องเร่งตัดผลปาล์มดิบให้ทันรอบการรับซื้อเหมือนที่ผ่านมาด้วย


“ตอนที่ยังไม่โรงสกัดน้ำมันปาล์มในพื้นที่ เกษตรกรจะมีรายได้เฉลี่ยไร่ละ 3,500-3,700 บาท แต่หลังจากมีโรงงานในพื้นที่แล้วเกษตรกรจะมีรายได้เฉลี่ยจากการเก็บผลปาล์มสูงถึงประมาณไร่ละ 6,800 บาท ในส่วนตัวเชื่อว่า ปาล์มน้ำมันเป็นน้ำมันบนดินที่ยังมีโอกาสและเป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งเขตที่ลุ่มในหลายพื้นที่ของภาคอีสานยังสามารถที่จะขยายพื้นที่ปลูกได้” นายสมพงษ์กล่าว




ด้านนายสมพงษ์ เพ็งไธสง เจ้าของสวนปาล์มขนาด 300 ไร่ในเขต ตำบลถ้ำเจริญ อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดหนองคาย กล่าวว่า สาเหตุที่ปลูกปาล์มน้ำมันเพราะเชื่อมั่นว่า ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีโอกาสทั้งในด้านของการผลิตเป็นพืชพลังงานและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง จึงได้ซื้อพันธุ์ปาล์มจากศูนย์วิจัยฯหนองคายมาปลูกพร้อมทั้งจัดทำระบบสปริงเกอร์ตลอดทั้งสวนตั้งแต่ปี 2549 ดังนั้นจึงไม่มีปัญหาเรื่องการให้น้ำทำให้ต้นปาล์มมีการเจริญเติบโตดี โดยสามารถเก็บผลผลิตได้ตั้งแต่ปลายปี 2552







“เดิมทีพ่อค้าคนกลางจะเข้ามารับซื้อผลผลิตที่อำเภอโซ่พิสัยทุก 15 วัน ราคาประมาณ 3-3.50 บาท หรือในบางช่วงราคาก็อาจจะต่ำลงไปอีก แต่เนื่องจากเป็นช่วงแรกที่ปาล์มของที่สวนให้ผลผลิต ทำให้ผลผลิตยังไม่มากพอจะขนไปจำหน่ายเอง จึงตัดสินใจขายกับพ่อค้าคนกลางที่มารับซื้อ แต่ปัจจุบันเมื่อมีโรงสกัดน้ำมันปาล์มที่อำเภอรัตนวาปี ทำให้ขายผลปาล์มสุกได้ราคาที่สูงขึ้น และยังสามารถขายได้ทุกวันอีกด้วย ขณะนี้อยู่ระหว่างการตัดสินใจที่จะขยายพื้นที่ปลูกปาล์มเพิ่ม เพราะเชื่อว่าผลผลิตปาล์มจะเป็นที่ต้องการและมีราคาที่สูงขึ้นอย่างแน่นอน” นายสมพงษ์กล่าว



ศิริลักษณ์ /ศิริพร ข่าวและประชาสัมพันธ์
พนมกร ชาติไทย ภาพ
สำนักสื่อสารและประชาสัมพันธ์
กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์
089-1399801 และ 02-6758800 ต่อ 1540-1
Prcpcrop@hotmail.com / Pr.cpcrop@gmail.com
Facebook : www.facebook.com/cpcrop
Read more >>

กล้วยน้ำว้า...พืชแซมสวนปาล์มน้ำมัน

โดย http://www.gotoknow.org/posts/512042

ได้มีโอกาสลงไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเก็บข้อมูลเพื่อศึกษาการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ของจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งแต่ละแปลงก็ได้เรียนรู้และเห็นความแตกต่างของการจัดการของแต่ละสวน เมื่อวาน 13 ธ.ค. 55 เราไปเยี่ยมเยียนสวนของ อ.ชูชัย ที่อำเภอบึงสามัคคี ปาล์มน้ำมันเริ่มให้ผลผลิตแล้ว

แต่ที่น่าประทับใจก็เห็นจะเป็นกล้วยน้ำว้าที่อาจารย์ปลูกเพื่อเป็นพืชแซมให้เกิดรายได้ระหว่างรอผลผลิตปาล์มน้ำมัน แม้แปลงที่เราไปจะเริ่มตัดแต่งออกไปบ้างแล้ว เพราะไม่ต้องการให้กล้วยน้ำว้าไปบังแสงแดดของต้นปาล์มที่กำลังเจริญเติบโต

จึงเห็นภาพต้นกล้วยน้ำว้าที่ยืนเข้าแถวเดี่ยวเหมือนกับการปลูกกล้วยไข่ สวยงามมาก
Read more >>

ชาวนาพิจิตรหันปลูกปาล์มน้ำมันลงทุนน้อย

โดยสนุก เมื่อ 8 พ.ค.2554

นายชานนท์ มาตะภาพ อายุ 54 ปี อยู่บ้านเลขที่ 176 หมู่ที่ 20 ต.เนินปอ อ.สามง่าม จ.พิจิตร ซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่มเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนของ ต.หนองโสน เปิดเผยว่าจากสภาวะราคาข้าวที่ตกต่ำ รวมถึงค่าปุ๋ยแพง ค่าแรงงานสูง ภัยพิบัติจากแมลงศัตรูพืช จึงเป็นเหตุจูงใจให้ขณะนี้ เพื่อนชาวนาในหมู่บ้านประมาณ 50 ครัวเรือน พื้นที่กว่า 500 ไร่ ต่างหันมาปรับเปลี่ยนผืนดินที่เคยทำนา หันมาเริ่มลงมือปลูกปาล์มน้ำมัน ซึ่งคาดว่าจะได้ผลผลิตในอีก 3 ปีข้างหน้า และได้ราคาดีกว่าการปลูกข้าว อีกทั้งการดูแลรักษาก็น้อยกว่า และเก็บผลผลิตแบบลงทุนครั้งเดียว เก็บผลกำไรได้ยาวนานถึง 20 ปี อีกทั้งสภาพผืนดิน และความสมบูรณ์ของแหล่งน้ำก็เป็นใจ จึงทำให้ตัดสินใจทิ้งการทำนา หันมาปลูกปาล์มน้ำมัน

นอกจากนี้เพื่อนชาวนาในเขต ต.ห้วยแก้ว อ.บึงนาราง จ.พิจิตร และ พื้นที่ในเขต ต.บึงสามัคคี จ.กำแพงเพชร ซึ่งเป็นพื้นที่ติดต่อกับ ต.หนองโสน รวมพื้นที่กว่า 5,000 ไร่ ก็หันมาปลูกปาล์มน้ำมัน ซึ่งตอนนี้เก็บผลผลิตได้แล้ว จึงคาดว่า ถ้าราคาข้าวตกต่ำเช่นนี้ ชาวนาพิจิตรและชาวนา จ.กำแพงเพชร คงจะตื่นกระแสปลูกปาล์มน้ำมันกันเพิ่มเติม อีกนับหมื่นไร่กันอย่างแน่นอน
Read more >>