การวางแนวปลูกปาล์ม



การวางแนว ปาล์มน้ำมัน หลังจากเตรียมพื้นที่ ตัดถนนและทางระบายน้ำแล้ว จึงวางแนวการปลูกโดยพิจารณาจากความสอดคล้องกับการทํางานการระบายน้ำความลาดเทของพื้นที่ทิศทางของแสงแดดเพื่อใหปาล์มน้ำมัน ไดรับแสงแดดมากที่สุด เพื่อให้ใบได้ มีกระบวนการสังเคราะหแสง ควรปลูกปาล์มน้ำมันแบบสามเหลี่ยม ด้านเท่า แถวหลักเป็นฐานอยูในแนวทิศเหนือ – ใต้

แถวที่ใกล้ กันจะปลูกกึ่งกลางเป็นระยะยอดของสามเหลี่ยมด้านเท่า และการจัดระยะการปลูก 9 x 9 เมตร ( ไม่ควรปลูกให้ถี่กว่านี้ ) เป็นที่นิยมมากที่สุดเนื่องจากทําให้ ต้นได้รับแสงมากที่สุด ไม่ควรปลูก ปาล์มน้ำมัน ให้ชิดมากกว่า 9 X 9 เมตร เพราะจะทำให้เกิดผลเสียในอนาคต เช่น ผลผลิตจะเริ่มต่ำมากเมื่อ อายุ ปาล์มน้ำมัน  มากกว่า 10 ปี  หรือ อาจจะมีผลเสียตั้งแต่ 6 – 8 ปี ขึ้นไป ทั้งนี้ อาจจะจัดระยะ เป็น 10 -12 เมตร ต่อช่วง

ควรปลูกในช่วงฤดูฝน เพราะความชื้นในดินจะเป็นปัจจัยสําคัญที่จะส่งผลต่อการอยู่รอดหรือการเจริญเติบโตของต้นกล้า ปาล์มน้ำมัน ที่ปลูก ระยะเวลาปลูกที่เหมาะสมคือ เดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงต้นฤดูฝน จะทําให ปาล์มน้ำมัน ตั้งตัวในแปลงได้ดี และยาวนาน ก่อนถึงฤดูแล้ง
ระยะปลูก ที่เหมาะสมคือ การปลูกแบบสามเหลี่ยมด้านเทา ระยะ 9 X 9 X 9 เมตร  หรือ 10 X 10 X หรือ 12 X 12 X 12 ในพื้นที่ 1 ไร มีต้น ปาล์มน้ำมัน จํานวนไม่เกิน 18 - 22 ตน สำหรับในพื้นที่ อีสานอาจเพิ่มพื้นที่ระยะปลูกเป็น 12 X 12 X 12 เพื่อเพิ่มพื้นที่สำรองน้ำไว้

การวางแนวปลูก ที่สําคัญคือ การปลูกต้น ปาล์มน้ำมัน ให้ทุกต้นได้รับแสงแดดมากที่สุด และสม่ำเสมอ เพื่อการสังเคราะห์แสงโดยกําหนดให้ แถวปลูกหลักอยู่ในแนวทิศเหนือ - ใต้ ระบบการปลูก ปาล์มน้ำมัน ที่นิยมคือ ปลูกแบบสามเหลี่ยมด้านเท่า
Read more >>

ปลูกปาล์มน้ำมัน 1 ไร่ได้ผลตอบแทนมากกว่า 3 ไร่


Read more >>

สินธุเศรษฐ์ นำร่องปลูกปาล์มน้ำมันในภาคกลาง


โดย http://www.sintusatepalmoil.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539188275&Ntype=7

สินธุเศรษฐ์ นำร่อง
ปลูกปาล์มสายพันธุ์ดีในที่ลุ่มภาคกลาง
คลุมพื้นที่กว่า 1,000 ไร่ มั่นใจศักยภาพการผลิตรุ่ง

“รวมพลังขับเคลื่อน ยกระดับมาตรฐานปาล์มน้ำมัน ด้วยการปลูกปาล์มสายพันธุ์แท้ สายพันธุ์ดี
เพื่อก้าวให้ทันยุคแห่งการแข่งขัน เพื่อผลประโยชน์ และความคุ้มค่าสูงสุดในอาชีพ
มุ่งเน้นคัดสายพันธุ์ที่ดีที่สุดของโลก สู่มือเกษตรกร...”


สวนปาล์มน้ำมันแปลงใหม่ภายใต้การดำเนินงานของบริษัทสินธุเศรษฐ์ตั้งอยู่เนื้อที่ 4 อำเภอ 3 จังหวัด แล้วแบ่งออกเป็น 4 สวนดังนี้

แปลงที่ 1 อยู่ที่ อ.หนองแค จ.สระบุรี รวมพื้นที่ทั้งหมด 210 ไร่ เดิมที่เป็นสวนส้มเก่า นำปาล์ม

สายพันธุ์ Deli x Compact (เดลิ x คอมแพค) 

ปลูกในร่องเดิมที่เคยเป็นสวนส้มปลูกระบบร่องเดียว คือ 1 ร่องปลูก 1 ร่องน้ำ รถไม่สามารถเขาได้ ปลูกในระยะ 8 x 8 x 8 เมตร ปัจจุบันอายุได้  2 เดือน

แปลงที่ 2 อยู่ที่ อ.วิหารแดง จ.สระบุรี รวมพื้นที่ทั้งหมด 235 ไร่ เดิมที่เป็นสวนส้มเก่า นำปาล์ม

สายพันธุ์ Compact x Nigeria Black (คอมแพค x ไนจีเรีย แบล็ค ) 

ปลูกในร่องเดิมที่เคยเป็นสวนส้มแต่ได้มีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ให้เป็นระบบ 1 ร่อง 3 แถว คือปลูกปาล์ม 3 แถว แล้วขุดร่องน้ำไว้ 1 ร่อง รถสามารถเข้าไปในร่องได้ ปลูกในระยะ 8 x 8 เมตร ขณะนี้ดำเนินการปลูกอยู่

แปลงที่ 3 อยู่ที่ อ.องครักษ์ จ.นครนายก รวมพื้นที่ทั้งหมด 360 ไร่ เดิมที่เป็นสวนส้มเก่า และเคยเป็นที่บ้านจัดสรร สำหรับแปลงที่นี้เป็นแปลงที่มีการเสียต้นทุนด้านการปรับพื้นที่ค่อนข้างสูงเฉลี่ย 10,000 บาท/ไร่ ไม่เพียงเท่านั้นค่า ph อยู่ที่ 2.4 ซึ่งถือว่าเป็นดินเปี้ยวที่สุดเลยก็ว่าได้ นำปาล์ม

สายพันธุ์ Deli x Compact (เดลิ x คอมแพค) 

ปลูก โดยยกร่องปลูกแบบ เป็น 1 ร่อง 3 แถว ปลูกในระยะ 8.5 x 8.5 เมตร และออกแบบให้ระบบน้ำเป็นระบบน้ำวนเพื่อให้น้ำลดความกร่อยของน้ำ ปัจจุบันอายุได้ 3 เดือน

แปลงที่ 4 อยู่ที่ อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี รวมพื้นที่ทั้งหมด 195 ไร่ เดิมที่เป็นสวนส้มเก่า นำปาล์ม

สายพันธุ์ Deli x Compact (เดลิ x คอมแพค) และ Compact x Nigeria Black (คอมแพค x ไนจีเรีย แบล็ค ) 

ยกร่องปลูกแบบ เป็น 1 ร่อง 3 แถว ปลูกในระยะ 8.5 x 8.5 เมตร ปัจจุบันอายุได้ 2 เดือน


Read more >>

เยี่ยมชมสวนปาล์มน้ำมัน




ว่าที่ ร.ต.ชัยศรี  ไชยมณี   หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ   สำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร   นำนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร  เยี่ยมชมลาน
รับซื้อปาล์มและสวนปาล์มน้ำมันซึ่งมีอายุ 3  ปี  4  เดือน  พื้นที่  40 ไร่  ของนายชัยชนะ   เอี่ยมสำอางค์  เกษตรกร หมู่ที่ 6  ตำบลระหาน  อำเภอบึงสามัคคี  จังหวัดกำแพงเพชร

Read more >>

จากหนึ่งทลายสู่ลานปาล์ม


โดย http://www.gotoknow.org/posts/509557

เขียวมรกต

๒๑ พย.๕๕

จุดรับซื้อผลผลิตปาล์มน้ำมัน แห่งแรกของจังหวัดกำแพงเพชร

วันนี้ (๒๑ พย. ๕๕ )ผมและอ.สิงห์ป่าสัก ตั้งใจจะไปเยี่ยมลานปาล์มน้ำมันของคุณชัยชนะ ชื่นสำอางค์ ตั้งอยู่ ที่บ้านทุ่งสนุ่น ตำบลระหาน อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร โดยได้รับทราบจากคุณชัยชนะ ว่าทุกวันที่๖-๗และ๒0- ๒๑ ของเดือน จะมีการนัดหมายให้เกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมัน ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร ได้นำผลผลิตทลายปาล์มน้ำมัน มาจำหน่าย ณ.จุดรับซื้อ/ลานปาล์มชัยชนะ ซึ่งเป็นจุดรับซื้อผลผลิตปาล์มน้ำมัน แห่งแรกของจังหวัดกำแพงเพชรครับ  
               
เมื่อผมและอ.สิงห์ป่าสัก ไปถึงยังจุดรับซื้อหรือที่เรียกว่า ลานปาล์มชัยชนะ แห่งนี้ ก็พบมีเกษตรกรที่เป็นสมาชิก ผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน ได้ทยอยบรรทุกผลปาล์มที่เป็นทลาย มายังจุดรับซื้อแห่งนี้หลายราย หากประมาณดูแล้ว ก็จะมีผลผลิตกองอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียวครับ( ประมาณ๕0-๖0 ตัน)

คุณชัยชนะ ชื่นสำอางค์ ได้เล่าให้ฟังว่า ปกติผลผลิตปาล์มที่มีเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในเขตจังหวัดกำแพงเพชร ทั้งในเขตชลประทานและเขตน้ำฝน ได้นำผลผลิตปาล์มมาจำหน่ายยังจุดรับซื้อแห่งนี้ หรือจุดรวบรวมผลผลิตปาล์ม เพื่อนำส่งโรงงานในเขตจังหวัดชลบุรี จากนั้นก็บรรทุกโดยรถบรรทุกสิบล้อพ่วง เดือนละ๒ ครั้ง ผลผลิตที่ได้แต่ละครั้ง เคยได้ถึง ประมาณ ร้อยถึงสองร้อยตันน่าจะได้  สำหรับราคาที่รับซื้อตอนนี้(วันที่ ๒O-๒๑ พย.๕๕)อยู่ที่ กิโลกรัมละ ๓.๔O บาท แต่ก็ขึ้นลงตามราคาตลาดที่โรงงานประกาศเช่นกัน

จากประสบการณ์ของตนเอง(คุณชัยชนะ)พบว่า หากเกษตรกรที่ปลูกปาล์มในเขตชลประทานโดยให้น้ำในระบบร่อง(ร่องส้มเดิม) ผลผลิตจะออกทุกเดือน  หากเกษตรกรที่ปลูกในสภาพพื้นที่ดอน(ไร่)เขตอาศัยน้ำฝน ก็จะเว้นการเก็บผลผลิตประมาณ ๔-๖ เดือนในรอบ๑ ปี ปัจจุบันจะมีเกษตรกรที่มีผลผลิตปาล์มออกสู่ตลาดโดยนำมาส่งที่จุดรับซื้อแห่งนี้ จำนวน ๒o รายเศษ และคาดว่าอีก ๒-๓ ปีข้างหน้าจะมีเกษตรกรที่จะนำผลผลิตปาล์ม มายังจุดรับซื้อแห่งนี้เพิ่มขึ้นจากเดิมหลายรายเช่นกันทุกวันนี้มีเกษตรกรที่สนใจในการปลูกปาล์มน้ำมัน มาขอรับความรู้จากตนเองทุกวัน วันหนึ่งๆก็มากันหลายรายเช่นกัน นอกจากนี้ก็มาขอศึกษาดูแปลงปลูกปาล์มในระบบร่อง(แปลงปลูกส้มเดิม)ของตนเอง ตนเองก็ได้แนะนำและถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกรเหล่านั้นอย่างตรงไปตรงมา โดยแนะนำให้ปลูกในพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำดีเพียงพอ

คุณชัยชนะ ยังได้เล่าให้ฟังต่อไปอีกว่า จากประสบการณ์ของตนเองเชื่อว่าต้นปาล์ม เป็นพืชที่ตอบสนองต่อปุ๋ยและน้ำได้ดี หากเราให้น้ำสม่ำเสมอ พร้อมกับใส่ปุ๋ยให้ถูกต้อง พร้อมกับเพิ่มธาตุอาหารที่เป็นอาหารเสริมเช่นน้ำหมักชีวภาพที่เราทำการหมักเองจากปลา ต้นปาล์มจะติดผลดกและเจริญเติบโตเร็ว  
                
ปัจจัยที่สำคัญที่สุดอีกปัจจัยหนึ่ง  จากข้อค้นพบของตนเอง(คุณชัยชนะ)พบว่า การคัดเลือกพันธุ์ปาล์มพันธุ์ดีปลูก ก็จะติดผลดกน้ำหนักดี ในแปลงของตนเอง จำนวน ๔oไร่นี้ เมื่อปลูกปาล์มไปแล้ว เมื่อต้นปาล์มมีอายุ ๑ ปีกับอีก ๙ เดือน จะเริ่มออกผลแล้วและผลเต่งมาก จนตนเองตัดที้งไม่ไหว ก็เลยปล่อยเลยตามเลย ผลปรากฏว่า สามารถเก็บผลผลิตไปจำหน่ายได้หมด หากจะพูดถึงการลงทุนในแปลงนี้( ๔oไร่)ที่มีอายุ ๓ ปี๔ เดือน ตนเองก็ได้ทุนที่ลงไปคืนหมดแล้วครับ  ปัจจุบันยัง ได้ซื้อที่ดินเพื่อจะขยายปลูกปาล์มเพิ่มอีกประมาณ ๒o ไร่ 

  สำหรับวันนี้ทีมงานของเราก็ได้เก็บข้อมูลเพิ่มเติมจากคุณชัยชนะ ชื่นสำอางค์ พร้อมกับได้สนทนากับเกษตรกรที่นำผลิตปาล์มมาส่งยังจุดรับซื้อแห่งนี้ ต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า การที่เกษตรกรจะตัดสินใจปลูกปาล์มน้ำมัน ให้ได้ผลดี ต้องอยู่ที่มีแหล่งน้ำดีเพียงพอ การคัดเลือกสายพันธุ์ปลูกต้องเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ดินของตนเอง และที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือการบริหารจัดการแปลงปลูกปาล์มให้ถูกต้องรวมถึงการดูแลรักษา(การใส่ปุ๋ยและการกำจัดวัชพืช) รวมทั้งต้องรู้จักการป้องกันกำจัดหนู ที่จะมากัดกินผลปาล์มเช่นกันครับ
Read more >>

ปลูกปาล์มน้ำมันทดแทนไร่ส้มเขียวหวาน




โดย http://www.gotoknow.org/posts/509171

ครั้งหนึ่งราวปี พ.ศ.๒๕๔๕-๒๕๕๑ จังหวัดกำแพงเพชรได้มีเกษตรกรชาวสวนส้มรังสิต จังหวัดปทุมธานี ได้อพยพแหล่งปลูกส้มไปปลูกที่เขตจังหวัดกำแพงเพชร ส่วนใหญ่จะทำการปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำนามาเป็นสวนส้ม ซึ่งมีพื้นที่ปลูกส้มในขณะนั้นจำนวนหลายหมื่นไร่ แต่ปัจจุบันจะเหลือพื้นที่ปลูกส้มอยู่ไม่กี่ร้อยไร่ ส่วนใหญ่จะเลิกการทำสวนส้มไปในที่สุด เพราะว่าส้มเกิดเป็นโรค เกษตรกรขาดทุน เป็นหนี้เป็นสินมากมาย มีเกษตรกรปรับพื้นที่จากร่องส้มเป็นพื้นที่ทำนาเหมือนเดิม แต่ก็จะมีเกษตรกรหัวไวใจสู้ส่วนหนึ่ง ได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่จากไร่ส้ม โดยทำการปรับปรุงพื้นที่ที่ปลูกส้มเดิมเปลี่ยนมาปลูกปาล์มน้ำมันแทน จะเป็นการตัดสินใจปลูกตามกระแสหรือไม่ น่าสนในที่จะต้องศึกษาข้อเท็จจริงว่ากำแพงเพชรจะเหมาะที่จะปลูกปาล์มน้ำมันหรือไม่ต้องติดตาม

จากการที่ทีมงานได้ลงไปศึกษาและเยี่ยมเยียนเกษตรกรที่ชื่อคุณชัยชนะ ชื่นสำอางค์ อยู่บ้านเลขที่ ๙๕ หมู่ที่๖ (บ้านทุ่งสนุ่น) ตำบลระหาร อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร(เมื่อวันที่๑๔ พย๕๕)โดยได้เล่าให้ทีมงานได้ฟังว่า ตนเองได้ทำการทดลองปลูกปาล์มน้ำมัน จำนวน ๔0ไร่ โดยทำการปรับปรุงจากร่องส้มเดิมมาปลูกปาล์มน้ำมัน ซึ่งใช้ระยะปลูกคือระยะห่างระหว่างแถว กว้าง ๙ เมตรและระยะห่างระหว่างต้น ๙ เมตร ปลูกแบบสลับฟันปลา โดยทำการปลูกบนสันร่องกว้างประมาณ ๑๕ เมตร ร่องน้ำกว้างประมาณ ๑ เมตรเศษ ทำการปล่อยน้ำจากคลองชลประทานวังบัวเข้าร่องที่ปลูกปาล์มน้ำมัน โดยเลี้ยงน้ำไว้ในร่องตลอดเวลา ขณะนี้ต้นปาล์มน้ำมัน อายุ ๓ ปี ๔ เดือน ซึ่งปัจจุบันทยอยเก็บเกี่ยวผลปาล์มน้ำมัน ไปหลายครั้งแล้วพันธุ์ที่ใช้ปลูก ได้แก่ พันธุ์เดลิ-คอมแพค และพันธุ์เดลิ-ไนจีเรีย

คุณชัยชนะ ชื่นสำอางค์ ยังได้เล่าให้ฟังต่อไปอีกว่า จากการสังเกตทลายปาล์มเมื่อนำไปชั่งดู จะหนักประมาณ ๒0กิโลกรัมเศษ ต่อหนึ่งทลาย หากจะประมาณผลผลิตน้ำหนักของผลปาล์ม จะได้ประมาณ ไร่ละเกือบถึง๓ ตันต่อครั้ง เป็นที่น่าพอใจ เมื่อไม่นานมานี้มีผู้แทนบริษัทเอกชนจากประเทศออสตาริกา มาดูแปลงปลูกปาล์มน้ำมันของตนเอง ซึ่งเขาได้บอกว่า พอใจในการเจริญเติบโตของต้นปาล์มของคุณชัยชนะ และมีการจัดการแปลงปลูกปาล์มคล้ายกับสวนปาล์มของเกษตรกรในประเทศมาเลเซีย

จากนั้นคุณชัยชนะ ก็ได้นำทีมงาน ลงไปเยี่ยมแปลงปลูกปาล์มน้ำมัน พร้อมกับได้เล่าถึงวิธีการปลูก ปาล์มน้ำมันเริ่มตั้งแต่การปรับเตรียมพื้นที่ปลูก การคัดเลือกต้นพันธุ์ปาล์มมาปลูก วิธีการปลูก การดูแลรักษา ทั้งการให้ปุ๋ย การให้ฮอร์โมนจากปลา ตลอดจนการให้น้ำโดยวิธีการใช้เรือรดน้ำ ซึ่งเคยใช้กับสวนส้มมาแล้วครั้งหนึ่ง
สำหรับการเก็บเกี่ยวตนเองได้ตั้งจุดรวมเพื่อรับซื้อผลผลิตปาล์มน้ำมันจากเกษตรกรในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียงกำหนดรับซื้อทุกวันที่ ๒0-๒๑ ของทุกเดือน ในหนึ่งเที่ยวรถบรรทุกก็จะบรรทุกได้ประมาณ ครั้งละ ๓0 ตัน เพื่อนำส่งต่อไปยังโรงงานน้ำมันปาล์มที่จังหวัดชลบุรี

ขณะที่ทีมงาน ได้พูดคุยกับคุณชัยชนะ ชืนสำอางค์ พร้อมได้ลงไปดูแปลงปลูกปาล์ม ก็ทึ่งเหมือนกันว่า ต้นปาล์มมีการเจริญเติบโตดีกว่าในเขตพื้นที่นอกเขตชลประทาน และได้พบข้อสังเกตว่า พันธุ์ปาล์มก็มีส่วนสำคัญอยู่มากที่เกษตรกรที่จะตัดสินใจปลูกปาล์มจะต้องรู้ลักษณะประจำพันธุ์ว่าแต่ละสายพันธุ์เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ปลูกลักษณะของเนื้อดินเป็นดินชุดอะไรและ ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือแหล่งน้ำนั่นเองต้องสมบูรณ์เพียงพอ นั่นเอง ทั้งก็จะต้องเข้าใจของการบริหารจัดการแปลงอย่างถูกต้องควบคู่กันไปด้วยครับ

เขียวมรกต ๑๘ พย.๕๕
Read more >>

เทคนิคการเพาะพันธุ์เมล็ดปาล์ม

วัสดุอุปกรณ์ในการเพาะ

1. ดินร่วน จำนวน 1 ส่วน

2. แกลบเผา จำนวน 3 ส่วน

3. ทรายหยาบน้ำจืด จำนวน 1 ส่วน

4. ขุยมะพร้าวละเอียด จำนวน 1 ส่วน

5. น้ำสะอาด/บัวรดน้ำ/พลั่วผสมและพลั่วตักดิน/จอบ

6. กระบะเพาะขนาด 40 x 90 ซ.ม. สูง 10 ซ.ม./หรือถุงดำขนาด 2 x 6 นิ้ว ตามต้องการ

7. เมล็ดพันธุ์ปาล์มชนิดต่างๆ (เช่น ปาล์มหมากเหลือง,ปาล์มเยอรมัน,ปาล์มขวด) จำนวน 200-300 เมล็ด

วิธีการ

1. เตรียมดินร่วน แกลบเผา ทรายหยาบน้ำจืด และขุยมะพร้าวตามจำนวนที่ต้องการ เก็บเศษหิน กิ่งไม้ ที่

ปลอมปนมากับวัสดุเพาะชำออกให้หมด

2. ผสมดินร่วน แกลบเผา ทรายหยาบน้ำจืด และขุยมะพร้าวให้เข้ากันทั่วทั้งกอง โดยใช้จอบหรือพลั่วตัก

ผสมข้างบนลงล่างและนำวัสดุข้างล่างขึ้นข้างบน เมื่อสังเกตเห็นว่าเข้ากันดีแล้วให้ใช้บัวรดน้ำตักน้ำแล้ว

รดให้ทั่วกอง ใช้จอบผสมกองอีกครั้งหนึ่งให้เข้ากันทั่วทั้งกองใช้ความชื้นประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ไม่ชื้น

มากจนแฉะเพราะจะทำงานลำบาก

3. เตรียมกระบะที่จัดทำไว้ตามขนาดที่ต้องการ นำไปวางไว้ที่แสงแดดส่องรำไร ไม่ควรอยู่ที่แสงแดดจ้า

ตลอดวันเพราะมีผลต่อการงอกของเมล็ดพันธุ์ปาล์ม ปรับพื้นที่ให้เรียบแล้ววางกระบะ

4. นำขุยมะพร้าวสับหยาบรองพื้นที่กระบะเตรียมไว้เพื่อช่วยดูดซับและระบายความชื้นจากวัสดุปักชำ

5. นำวัสดุที่ผสมเสร็จเรียบร้อยแล้วลงเกลี่ยในกระบะเพาะชำให้วัสดุปักชำต่ำกว่าขอบกระบะเล็กน้อย

6. นำเมล็ดพันธุ์ปาล์มสุกที่เตรียมไว้โรยให้กระจายทั่วกระบะเพาะชำ ใช้มือกดเมล็ดปาล์มลงเล็กน้อย และ นำวัสดุปักชำที่เหลือไว้ส่วนหนึ่งโรยกลบหน้าเมล็ดปาล์ม ไม่ควรให้เมล็ดพันธุ์ปาล์มอยู่ในดินลึกเกินไป

7. รดน้ำด้วยบัวรดน้ำทุกวัน เช้าเย็น หรือเมื่อความชื้นในกระบะเพาะลดลง ใช้เวลาประมาณ 15 - 30 วัน
เมล็ดปาล์มจะเริ่มงอก ทั้งนี้การจะงอกเร็วหรือช้าอยู่ที่พันธุ์และชนิดของปาล์มนั้นๆ

"เมล็ดพันธุ์ปาล์มที่เก็บไว้นานเกินไปเมื่อนำมาเพาะเปอร์เซ็นต์ความงอกอาจจะลดลงได้"
Read more >>

โครงการปลูกปาล์มน้ำมันและรับซื้อผลผลิตคืน บริษัทเพชรสยามการเกษตร จำกัด

79 ม.4 ต.บวกค้าง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่

ปาล์มเป็นพืชที่ปลูกง่าย โตเร็ว ดูแลจัดการให้ดีจะให้ผลผลิตมาก การปลูกเหมือนการปลูกพืชยืนต้นทั่วไป เหมือนมะพร้าวหรือหมากพลู ปลูกได้ทุกพื้นที่ ไม่ต้องการน้ำมาก ทนแล้ง ไม่มีโรคมากเท่าไหร่ ต้นปาล์มอายุ 3 ปี เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ผลผลิตจะออกทุก 15 วัน 1 เดือนเก็บผลผลิต 2 ครั้ง อายุการเก็บเกี่ยวยาวนานกว่า 25 ถึง 30 ปี

การปลูกปาล์มน้ำมัน
(1) 1 ไร่ใช้ต้นกล้า ปลูก 22 ต้น โดยต้นกล้าเป็นพันธุ์เทเนอร่า และมีใบรับรองจากกรมวิชาการเกษตร
(2) ระยะห่างการปลูก 9X9X9 เมตร
(3) 3 ปีเก็บได้เฉลี่ยขั้นต่ำต้นละ 15 กก. ต่อครั้ง
(4) 1 เดือนเก็บได้ 2 ครั้ง เฉลี่ยประมาณ 30 กก. ต่อต้น
(5) บริษัท ประกันราคาซื้อตามท้องตลาดที่รัฐบาลประกาศ

รายได้จากการปลูกปาล์ม
1. รายได้จากการปลูกปาล์ม 1 ไร่
30 x 5 บาท = 150 บาทต่อต้น
150 x 22 ต้น = 3,300 บาทต่อไร่ต่อเดือน
3,300 x 12 เดือน = 39,600 บาทต่อปีต่อไร่

2. ปลูกปาล์ม 2 ไร่ มีรายได้ 6,600 บาทต่อเดือน
3. ปลูกปาล์ม 3 ไร่ มีรายได้ 9,900 บาทต่อเดือน
4. ปลูกปาล์ม 4 ไร่ มีรายได้ 13,200 บาทต่อเดือน
5. ปลูกปาล์ม 5 ไร่ มีรายได้ 16,500 บาทต่อเดือน
6. ปลูกปาล์ม 10 ไร่ มีรายได้ 33,000 บาทต่อเดือน
7. ปลูกปาล์ม 20 ไร่ มีรายได้ 66,000 บาทต่อเดือน
8. ปลูกปาล์ม 50 ไร่ มีรายได้165,000 บาทต่อเดือน

ตกลงคุณจะทำกี่ไร่..........
3 ปี รวยแน่นอน

สนใจติดต่อ : เอกชัย 082-0302417,0806770427 (เจ้าหน้าที่ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร)
Read more >>

ปาล์มน้ำมัน ซี.พี. เทเนร่า อายุ 8 เดือนขึ้นไป ราคา ต้นละ 130 บาท ไม่รวมค่าขนส่ง จองต้นละ 20 บาท

คุณลักษณะปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนร่า (DxP) สายพันธุ์ ซี.พี. เทเนร่า (C.P. Tenera)


 ปรับตัวได้ดีกับสภาพแวดล้อมที่มีฤดูแล้งนาน 90 วัน และให้ผลผลิตสม่ำเสมอตลอดปี
 ให้ผลผลิตทะลายปาล์มสดสูงกว่า 4 ตัน/ไร่/ปี ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
 ลักษณะลำต้นสูงปานกลาง ความสูงเฉลี่ยไม่เกิน 40 -50 ซม./ปี
 มีเปอร์เซ็นต์น้ำมันต่อทะลาย  สูงถึง 25 %
 ผลผลิตจำนวนทะลายปาล์มสดมากกว่า 18 ทะลาย/ต้น/ปี และมีจำนวนหนามบนทะลายปาล์มน้อยหรือไม่มีเลย
 ปรับตัวได้ดีกับสภาพแวดล้อมที่มีฤดูแล้งนาน 90 วัน และให้ผลผลิตสม่ำเสมอตลอดปี
 ทนทานต่อโรค Fusarium wilt และยังไม่ปรากฏอาการเป็นโรค Garnoderma ในปาล์มลูกผสมเทเนร่าเนื้อเยื่ออายุ 16 ปี ในประเทศไทย
 ได้รับการรับรองสายพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร

สั่งซื้อและจองได้ที่
• ศูนย์ส่งเสริมเชียงรายคุณทับทอง089-191-3374
• ศูนย์ส่งเสริมกำแพงเพชรคุณโชคดี081-666-3258
• ศูนย์ส่งเสริมเลยคุณอนวัช081-857-0811
• ศูนย์ส่งเสริมบุรีรัมย์คุณสมศักดิ์081-717-5546
• ศูนย์ส่งเสริมสระแก้วคุณพรหมพิริยะ081-946-9373
• ศูนย์ส่งเสริมตราดคุณฤทธิรงค์087-484-6360
• ศูนย์ส่งเสริมชุมพรคุณชลาพันธ์081-857-1209
• ศูนย์ส่งเสริมนครศรีฯคุณสายสัมพันธ์080-145-2367

Read more >>

โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มหนองคาย

โดยซีพี เมื่อ 1 มี.ค.2554

โรงสกัดน้ำมันปาล์มแบบไม่ใช้ไปน้ำชุมชน CP-P 1,000 กำลังการผลิตที่ 4.5 ตันทลาย ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ อ.รัตนวาปี จ.หนองคาย สามารถรองรับการผลิตปาล์มในพื้นที่ 1,500 -3,000 ไร่ ปัจจุบันเริ่มทำการรับซื้อปาล์มในพื้นที่และเป็นที่ตอบรับของเกษตรกรชาวสวนปาล์มชุมชนในพื้นที่ จ.หนองคายและ จังหวัดใกล้เคียง

สืบเนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นเหตุประเทศต่างๆหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาพลังงานทางเลือกอย่างจริงจัง เพื่อลดการพึ่งพาน้ำมันเชื้อเพลิง และพลังงานจากถ่านหินที่นับวันจะหมดไป








ในส่วนของประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรอันดับต้นๆของโลก ในแต่ละปีมีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรจำนวนมากที่ถูกทิ้งไว้โดยเปล่าประโยชน์ รัฐบาลจึงมีแนวคิดที่พัฒนาพลังงานทดแทนจากพืช และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเหล่านั้น เพราะนอกจากจะเป็นการสร้างทางเลือกด้านพลังงานให้กับประเทศแล้ว การพัฒนาพืชพลังงานยังช่วยเพิ่มมูลค่าและลดปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำอย่างยั่งยืนด้วย
ทั้งนี้ ปาล์มน้ำมันถือเป็นพืชพลังงานที่มีศักยภาพชนิดหนึ่งของประเทศไทย ทั้งในด้านของผลตอบแทนต่อพื้นที่การผลิตและโอกาสในการพัฒนาต่อยอดสู่อุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ ดังนั้นเมื่อปี 2547 รัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะส่งเสริมการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มใหม่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 60,000 ไร่ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการปลูกปาล์มน้ำมันทดแทนพืชเดิมที่ให้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่าการลงทุน รวมทั้งรองรับการเติบโตของสภาพเศรษฐกิจและความต้องการใช้พลังงานในประเทศที่สูงขึ้นด้วย โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ส่งเสริมจะอยู่บริเวณพื้นที่ลุ่มติดแม่โขงในเขตจังหวัดหนองคายประมาณ 40,000 ไร่ ซึ่งผลการดำเนินงานพบว่า สวนปาล์มในหลายพื้นที่ของจังหวัดหนองคายที่อยู่ติดแม่น้ำโขงและมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยกับภาคใต้มีอัตราการเจริญเติบโต และให้ผลผลิตใกล้เคียงกับสวนปาล์มในภาคใต้


อย่างไรก็ตาม ถึงแม้สวนปาล์มในจังหวัดหนองคายและหลายพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะเริ่มทยอยให้ผลผลิต อีกทั้งมีความเป็นไปได้ในการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มในหลายจังหวัดที่มีสภาพอากาศและปริมาณน้ำฝนที่เหมาะสม แต่เนื่องจากสวนปาล์มส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีขนาดเล็กและอยู่กระจายกระจัด ทำให้ผู้ประกอบการไม่สนใจเข้ามาตั้งโรงสกัดน้ำมันปาล์มในพื้นที่ ที่ผ่านมาชาวสวนปาล์มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงต้องเสียค่าขนส่งทลายปาล์มไปจำหน่ายไกลถึงภาคตะวันออกและภาคใต้ อีกทั้งการขนส่งในระยะทางไกลทำให้เปอร์เซ็นต์ของกรด FFA สูงขึ้น เป็นเหตุให้ถูกกดราคารับซื้อจากพ่อค้าคนกลางอีกด้วย


ดังนั้นเมื่อนายพิสิษฐ์ ฮามไสย์ หุ้นส่วนบริษัทรัตนอุตสาหกรรมปาล์ม จำกัด ได้ไปดูต้นแบบโรงสกัดน้ำมันปาล์มแบบไม่ใช้ไอน้ำ CP-P 1500 ที่ อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นงานวิจัยร่วมระหว่าง MTEC และบริษัทเกรท อะโกร จำกัด กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ จึงสนใจที่จะซื้อเครื่องสกัดน้ำมันปาล์มดังกล่าวมาดำเนินการติดตั้งในโรงงานที่อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย ด้วยเชื่อว่านวัตกรรมดังกล่าวสามารถตอบโจทย์ของผู้ประกอบในพื้นที่ปลูกปาล์มใหม่ซึ่งมีพื้นที่ปลูกปาล์มรอบโรงงานเฉลี่ย 1,500-3,000 ไร่ได้ อีกทั้งยังช่วยให้เกษตรกรในพื้นที่มีรายได้จากการขายปาล์มที่สูงขึ้นนอกจากนี้เกษตรกรยังสามารถคัดเลือกปาล์มที่สุกแก่เต็มที่มาขายที่โรงงานสกัดปาล์มได้ทุกวันด้วยระยะทางการขนส่งที่ไม่ไกลจากแหล่งปลูกปาล์มมากนัก นับเป็นการปฏิรูปในการสร้างรูปแบบใหม่ของการซื้อ-ขายปาล์มในพื้นที่ปลูกใหม่สร้างความมั่นใจและพึงพอใจแก่เกษตรกรในพื้นที่เป็นอย่างมาก





“ที่ผ่านมาชาวสวนปาล์มในภาคอีสานต้องเผชิญกับการกดราคารับซื้อจากพ่อค้าคนกลางที่เข้ามารับซื้อผลผลิตทุก 15 วัน โดยบางช่วงราคารับซื้อต่ำกว่าราคากลางถึง กก.ละ 1-2 บาท แต่เกษตรกรก็จำเป็นต้องขายโดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล เพราะไม่มีทางเลือก อีกทั้งยังการกำหนดรอบรับซื้อผลผลิตทุก 15 วันยังเป็นที่มาของปัญหาการตัดผลปาล์มดิบ หรือผลปาล์มไม่ได้คุณภาพที่เกิดขึ้น เพราะเกษตรกรไม่อยากเสียโอกาสจึงเลือกที่จะตัดผลปาล์มทันทีเมื่อถึงรอบการรับซื้อแม้ปาล์มจะยังดิบก็ตาม ในส่วนตัวคิดว่าการตั้งโรงสกัดน้ำมันปาล์มในพื้นที่จะช่วยลดปัญหาการตัดผลปาล์มดิบได้ เนื่องจากเกษตรกรสามารถเก็บผลผลิตมาส่งขายโรงงานได้ทุกวัน โดยบริษัทฯยังเพิ่มเกณฑ์การให้ราคารับซื้อตามคุณภาพของผลิตแทนการรับซื้อจากน้ำหนักรวมเหมือนที่ผ่านมาด้วย ซึ่งจากผลการดำเนินการที่ผ่านมา พบว่าได้รับความร่วมมือและพอใจจากเกษตรกร” นางพะยอมกล่าว




นายสมพงษ์ บังทอง ชาวสวนปาล์มตำบลนาดง อำเภอปากคาด จังหวัดหนองคาย ซึ่งเป็นเกษตรกรกลุ่มแรกๆของจังหวัดที่สนใจปลูกปาล์มน้ำมัน กล่าวว่า เริ่มทำการปลูกปาล์มน้ำมันปี 2548 และค่อยๆขยายพื้นที่ปลูกจนกระทั่งปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกปาล์มทั้งหมด 80 ไร่





“สนใจที่จะปลูกปาล์มน้ำมันเพราะได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ของศูนย์วิจัยฯหนองคาย ซึ่งจากการศึกษาเพิ่มเติมเห็นว่า ปาล์มน้ำมันน่าจะเป็นพืชที่มีอนาคตอีกทั้งยังเป็นพืชที่ดูแลรักษาไม่ยาก ปลูกเพียง 3 ปีก็สามารถให้ผลตอบแทนได้แล้วจึงได้ตัดสินใจปลูก ปัจจุบันต้นปาล์มที่ปลูกไว้เริ่มทยอยให้ผลผลิตแล้ว โดยเมื่อปี 2553 ที่ผ่านมาให้ผลผลิตเฉลี่ย 3-4 ตันต่อสัปดาห์ ส่วนหน้าฝนปีนี้คาดว่าผลผลิตจะเพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ละ 7-8 ตันต่อสัปดาห์” นายสมพงษ์


สำหรับช่องทางการขายนั้น นายสมพงษ์กล่าวว่า เดิมทีจะมีพ่อค้าคนกลางจากภาคตะวันออก หรือภาคใต้ขึ้นมารับซื้อทุก 15 วัน ซึ่งราคาเฉลี่ยประมาณ กก. 3-3.50 บาท แต่กรณีของเกษตรกรที่อยู่ไกลอาจจะราคาเพียง กก.ละ 1.50-2.00 บาทเท่านั้น จนกระทั่งบริษัทรัตนอุตสาหกรรมปาล์ม จำกัด ได้ตั้งโรงสกัดน้ำมันปาล์มขึ้นที่อำเภอรัตนวาปี นอกจากจะทำให้เกษตรกรในพื้นที่ขายผลปาล์มได้ราคาสูงถึง กก.ละ 6-6.80 บาทแล้ว การมีโรงงานในพื้นที่ทำให้เกษตรกรสามารถเก็บผลปาล์มสุกขายได้ทุกวันโดยไม่ต้องเร่งตัดผลปาล์มดิบให้ทันรอบการรับซื้อเหมือนที่ผ่านมาด้วย


“ตอนที่ยังไม่โรงสกัดน้ำมันปาล์มในพื้นที่ เกษตรกรจะมีรายได้เฉลี่ยไร่ละ 3,500-3,700 บาท แต่หลังจากมีโรงงานในพื้นที่แล้วเกษตรกรจะมีรายได้เฉลี่ยจากการเก็บผลปาล์มสูงถึงประมาณไร่ละ 6,800 บาท ในส่วนตัวเชื่อว่า ปาล์มน้ำมันเป็นน้ำมันบนดินที่ยังมีโอกาสและเป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งเขตที่ลุ่มในหลายพื้นที่ของภาคอีสานยังสามารถที่จะขยายพื้นที่ปลูกได้” นายสมพงษ์กล่าว




ด้านนายสมพงษ์ เพ็งไธสง เจ้าของสวนปาล์มขนาด 300 ไร่ในเขต ตำบลถ้ำเจริญ อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดหนองคาย กล่าวว่า สาเหตุที่ปลูกปาล์มน้ำมันเพราะเชื่อมั่นว่า ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีโอกาสทั้งในด้านของการผลิตเป็นพืชพลังงานและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง จึงได้ซื้อพันธุ์ปาล์มจากศูนย์วิจัยฯหนองคายมาปลูกพร้อมทั้งจัดทำระบบสปริงเกอร์ตลอดทั้งสวนตั้งแต่ปี 2549 ดังนั้นจึงไม่มีปัญหาเรื่องการให้น้ำทำให้ต้นปาล์มมีการเจริญเติบโตดี โดยสามารถเก็บผลผลิตได้ตั้งแต่ปลายปี 2552







“เดิมทีพ่อค้าคนกลางจะเข้ามารับซื้อผลผลิตที่อำเภอโซ่พิสัยทุก 15 วัน ราคาประมาณ 3-3.50 บาท หรือในบางช่วงราคาก็อาจจะต่ำลงไปอีก แต่เนื่องจากเป็นช่วงแรกที่ปาล์มของที่สวนให้ผลผลิต ทำให้ผลผลิตยังไม่มากพอจะขนไปจำหน่ายเอง จึงตัดสินใจขายกับพ่อค้าคนกลางที่มารับซื้อ แต่ปัจจุบันเมื่อมีโรงสกัดน้ำมันปาล์มที่อำเภอรัตนวาปี ทำให้ขายผลปาล์มสุกได้ราคาที่สูงขึ้น และยังสามารถขายได้ทุกวันอีกด้วย ขณะนี้อยู่ระหว่างการตัดสินใจที่จะขยายพื้นที่ปลูกปาล์มเพิ่ม เพราะเชื่อว่าผลผลิตปาล์มจะเป็นที่ต้องการและมีราคาที่สูงขึ้นอย่างแน่นอน” นายสมพงษ์กล่าว



ศิริลักษณ์ /ศิริพร ข่าวและประชาสัมพันธ์
พนมกร ชาติไทย ภาพ
สำนักสื่อสารและประชาสัมพันธ์
กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์
089-1399801 และ 02-6758800 ต่อ 1540-1
Prcpcrop@hotmail.com / Pr.cpcrop@gmail.com
Facebook : www.facebook.com/cpcrop
Read more >>

กล้วยน้ำว้า...พืชแซมสวนปาล์มน้ำมัน

โดย http://www.gotoknow.org/posts/512042

ได้มีโอกาสลงไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเก็บข้อมูลเพื่อศึกษาการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ของจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งแต่ละแปลงก็ได้เรียนรู้และเห็นความแตกต่างของการจัดการของแต่ละสวน เมื่อวาน 13 ธ.ค. 55 เราไปเยี่ยมเยียนสวนของ อ.ชูชัย ที่อำเภอบึงสามัคคี ปาล์มน้ำมันเริ่มให้ผลผลิตแล้ว

แต่ที่น่าประทับใจก็เห็นจะเป็นกล้วยน้ำว้าที่อาจารย์ปลูกเพื่อเป็นพืชแซมให้เกิดรายได้ระหว่างรอผลผลิตปาล์มน้ำมัน แม้แปลงที่เราไปจะเริ่มตัดแต่งออกไปบ้างแล้ว เพราะไม่ต้องการให้กล้วยน้ำว้าไปบังแสงแดดของต้นปาล์มที่กำลังเจริญเติบโต

จึงเห็นภาพต้นกล้วยน้ำว้าที่ยืนเข้าแถวเดี่ยวเหมือนกับการปลูกกล้วยไข่ สวยงามมาก
Read more >>